ทักทายกันหน่อย

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่เวบไซต์ Thai ebaY Articles ผมตั้งใจทำเวบนี้ขึ้นมาเพื่อรวมรวบสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับอีเบย์ให้อ่านง่ายขึ้นครับ ... ขอบคุณครับ

05 พฤศจิกายน 2555

Shipping Settings การคิดค่าส่ง และ วิธีการส่ง


ผู้ขายแบบ Professional สามารถตั้งสถานที่ส่ง วิธีการส่ง และค่าส่งสินค้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยหลัก ๆ แล้ว จะสามารถคิดค่าส่งได้ 3 แบบคือ ผมคิดว่าแต่แบบ มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน
1.   คิด ค่าส่งจากราคาสินค้าที่ซื้อ  - อันนี้ผมว่าเหมาะกับร้านที่มีสินค้า ที่มีระดับราคา กว้าง ก็คือ มีมันตั้งแต่ถูก ๆ ไปยังแพง สินค้าแพงยอมจ่ายค่าส่งที่แพงเพื่อให้ได้บริการที่ปลอดภัยกว่า ตามราคา นี่ก็คือราคาสินค้าทั้งหมดในรถเข็นนะครับ ไม่ว่าจะกี่ชิ้น อะไรบ้าง ก็รวมกันหมด
2.   คิดค่าส่งจากจำนวนชิ้นสินค้าที่ซื้อ - ผมว่าเหมาะกับร้านที่สินค้าในร้าน มีราคาและน้ำหนักแต่ละชิ้น ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
3.   คิดค่าส่งตามน้ำหนักสินค้า - อันนี้ผมว่า เหมาะกันสินค้าหนัก ๆ หรือคิดราคาสินค้าจากน้ำหนักของสินค้าเลย

ทั้ง นี้ เป็นเพียงความเห็นของผมนะครับ แต่ละร้านอาจจะมีกลยุทธ หรือวิธีการคิดค่าส่งไม่เหมือนกันเลยก็ได้ ทั้ง ๆ ที่สินค้าอาจเป็นแบบเดียวกัน

ทีนี้ มาดูวิธีในการตั้งค่าส่ง และวิธีการส่งกันดีกว่า

เมื่อเข้าไปในเมนู Shipping Settings แล้วหน้าแรกจะเป็นแบบนี้



เมนู แรกสุดคือ Ship From Location ก็คือการตั้งสถานที่ส่งออกสินค้า ก็น่าจะเป็น Thailand ทั้งหมด แต่อย่าไปเปลี่ยนเป็น USA ให้ดูน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม เพราะมันจะมีผล ต่อระยะเวลาประมาณการในการส่ง ที่ Amazon จะแสดงไว้ให้ลูกค้าดู และวิธีการส่งที่เราเลือกได้ ตั้งตามความเป็นจริงไปดีกว่า แต่ถ้าใครเอาของจากจีน แล้วส่งจากจีนไปเลย ก็กดปุ่ม edit ที่มุมขวาบน เพื่อเปลี่ยนได้เลยครับ



แล้วก็เลือกประเทศจาก Pull down menu เสร็จแล้วก็กด Update

อัน ต่อไป ก็คือ ตารางที่แสดง โซนต่าง ๆ และค่าส่ง ที่เป็นค่าเริ่มต้นที่ Amazon จัดให้ ถ้าใครไม่ได้เข้ามาตั้งในเมนูนี้ ทาง Amazon จะใช้ ราคานี้เป็นมาตรฐาน เป็นราคา ที่เขาส่งกันภายใน USA ไม่บอกก็รู้ว่า ขาดทุนแหง ๆ

ค่าเริ่มต้น ที่ Amazon ตั้งไว้ให้เราก็คือ $4.49 ต่อออร์เดอร์ บวกกับ $0.50 ต่อปอนด์
คือ ถ้าลูกค้าสั่งของเราไม่ว่าจะกี่ชิ้น ให้เอาน้ำหนัก คูณด้วย 0.50 แล้วก็บวกด้วย $4.49
(ปัดเศษน้ำหนัก ยังไงก็ยังไม่รู้นะครับ - ใครลองแล้วก็บอกด้วยล่ะกัน)

เอาคร่าว ๆ แค่นี้ก่อน เดี๋ยวค่อยลง รายละเอียดกันอีกที

ถ้าอยากเปลี่ยน เป็นแบบคิดตามราคาของที่ซื้อ ก็กดปุ่ม Change Shipping Model ที่มุมขวาบนได้เลย


ก็จะมี 2 แบบให้เลือก (อ้าว ไหนว่ามี 3 แบบ)

   อันแรก Price Banded ก็คือการตั้งค่าส่งตามราคา
   อันที่ 2 Per Item/Weight – Based อันนี้ คิดราคาตามจำนวนชิ้น / น้ำหนัก



ตั้งค่าส่งตามราคาก็เลือกอันบนเลย

หน้าแรก จะเป็นตารางให้เลือก ว่าจะส่งไปที่ไหน ยังไง จะเลือกส่งไปที่ไหน ก็เลือกด้วยการ คลิ๊ก ที่ check box ได้เลย
มีระยะเวลาในการขนส่งคร่าว ๆ ไว้ให้ดูด้วย แต่อย่าลืม ว่าลูกค้า เขาก็เห็นตัวเลขระยะเวลาประมาณนี้ ด้วยเช่นกัน




โซนไหน ยังไง
Continental US Street – ที่อยู่ทั่วไป ที่อยู่ในอเมริกา ไม่รวม ฮาวาย อลาสกา
Continental US PO Box - ที่อยู่ PO Box ที่อยู่ในอเมริกา ไม่รวม ฮาวาย อลาสกา
Alaska and Hawaii Street - ที่อยู่ทั่วไป ฮาวาย อลาสกา
Alaska and Hawaii PO Box - ที่อยู่ตู้ปณ.ฮาวาย อลาสกา
US Protectorates Street - พวกเกาะในอาณานิคมของสหรัฐ พวก ซามัว เกาะกวม เปอร์โตริโก้
US Protectorates PO Box - เหมือนข้างบน
APO/FPO Street - ที่อยู่ของพวกฐานทัพ ในสหรัฐ หรือในอาณานิคมต่าง ๆ
APO/FPO PO Box - นี่ก็เหมือนข้างบน ถ้าใครให้ส่งไปที่อยู่แบบนี้ เดาได้เลยว่าทหารแหง ๆ
Canada - คานาดา
Europe - ยุโรปทั้งแถบ รัสเซียก็นับเป็นยุโรป
Asia - เอเชีย
Outside US Eur, CA Asia - นอกเหนือจากข้างบนทั้งหมด แต่มีไม่กี่ประเทศหรอก ที่ Amazon มันยอมให้สั่ง เช่น เมกซิโก บราซิล อาร์เจนตินา

ของไปรษณีย์ ไทย จะแบ่งออกเป็นการคิดค่าส่งออกเป็น 3 โซน คือเอเชีย กับออสเตรเลีย / ยุโรป / อเมริกาเหนือ+ใต้ ดังนั้น การคิดค่าส่ง ในช่องแรก ที่เป็นแบบ Standard มันไม่ยาก อาจจะใช้ค่าส่งเรทเดียวกับอเมริกาทั้งหมดไปเลยก็ได้ จะได้ไม่ต้องวุ่นวาย เพราะค่าส่งไปอเมริกาด้วยไปรษณีย์ แพงที่สุดในบรรดาโซนทั้งหมดอยู่แล้ว
  แต่ที่จะยุ่งหน่อย ก็คือช่อง  Expedited ที่เป็นการส่งแบบด่วย หรือ EMS / FedEx / DHL ที่ทั้งระยะเวลา และค่าส่งในแต่ละที่ก็ไม่เท่ากัน หรือบางที่ก็ไม่มีบริการส่งด่วนให้ด้วย เช่น ถ้าเป้น EMS ไปยุโรป จะถูกกว่า ไปเมกา แต่ถ้าเป็น FedEx ไปเมกาจะถูกกว่า แต่ FedEx ไม่ส่งไปถ้าเป็นที่อยู่แบบ PO Box / APO-FPO ถ้าใครจะใช้อันนี้ ก็ตรวจสอบค่าส่ง บริษัทที่จัดส่ง และระยะเวลากันดี ๆ นะครับ เพราะอาจจะทำให้ขาดทุนได้ แต่ถ้าอยากตัดปัญหา ก็ไม่ต้องมีเลยก็ได้


เลือกจนพอใจ แล้วก็กด Continue เพื่อตั้งราคา จะเจอ อลังการงานสร้างอีก 1 หน้า



การ ตั้งค่าส่งตามราคา จะตั้งเป็นช่วงราคา กับค่าส่ง และต้องตั้งทุกอัน ตามที่เราได้เลือกมา ก่อนหน้านี้ (ตั้งมาหลายแบบ ก็ซวยหน่อย เปลี่ยนใจตอนนี้ยังทันนะ) แต่ไม่ต้องกลัว มัน Copy ทุกอันให้เหมือนกันได้ ผมถึงบอกว่า ให้ตั้งเหมือนเมกาไปเลย เพราะมันจะแพงที่สุด ยังไงโซนอื่น ก็ไม่แพงกว่านี้
เริ่มตั้ง ก็กดที่ ที่ช่องแรกไปได้เลย ช่องเดียวก็จะขยาย เป็น หลาย ๆ ช่อง ตามนี้



เราก็สามารถ ใส่ช่วงราคา และค่าส่งแต่ละช่วงได้ตามสะดวก ตามตัวอย่างนี้



ช่วงแรก $0.00 ถึง $50.00 คิดค่าส่ง $1.00 ( ผมใส่ตัวเลข 50 ในช่องแรก และ 1 ในช่องหลัง )
ช่วง ที่สอง $50.01 ถึง $100.00 คิดค่าส่ง $2.00 (ผมใส่ตัวเลข 100 ในช่องแรก และ 2 ในช่องหลัง $50.01 จะปรากฎอัตโนมัต ตอนที่ผม 50 ในช่องแรก)
ช่องสุดท้าย $400.01 ถึง up (คือ ตั้งแต่ $400.01 ขึ้นไป อาจจะถึง 1 ล้าน - ถ้ากล้าสั่งนะ) คิดค่าส่ง $6.00

หากยังไม่พอใจ ช่องมันยังไม่เยอะพอ ก็สามารถ กดเพื่อเพิ่มแถวมาอีกก็ได้

เมื่อครบแล้ว ก็กดปุ่ม ก็จะเข้าสู่หน้า Copy ให้เหมือนกันให้หมดทุกโซน

การ Copy ค่าส่งไปยังโซนอื่น

หลังจากกด Copy Bands to Region ก็จะเข้าสู่หน้านี้



ช่อง Copy What? ให้เลือกข้อ Bands and Rate เพื่อ Copy ทั้งช่วงราคาสินค้า และค่าส่ง แต่ถ้าจะตั้งให้ไม่เท่ากัน ก็เลือกข้อ Band only
ช่อง Copy To ก็เลือกโซน ที่อยากให้ช่วงราคาและค่าส่งเท่ากัน (เลือกทุกช่อง ถ้าอยากให้ค่าส่งทุกโซนเท่ากันหมด)
เสร็จ แล้ว ก็กดปุ่ม Copy and Continue แล้วเราก็จะกลับมาหน้าเมื่อกี้ ที่ช่วงราคาและค่าส่ง จะเหมือนกันหมด ช่องที่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เพื่อแสดงว่า ค่าเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง


สุดท้าย ก็กด Confirm เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง เป็นอันเสร็จสิ้น การตั้งวิธีการส่ง โซน และก็การคิดค่าส่งตามราคาที่สั่ง

การตั้งค่าส่ง ตามปริมาณ  / น้ำหนัา

เลือก Per Item/Weight – Based หลังจากที่กดปุ่ม เพื่อเลือกระบบการคิดค่าส่งตามจำนวนชิ้น หรือน้ำหนัก

หน้าแรก ก็จะเป็นการเลือกโซน และบริการ เหมือนกับการคิดค่าส่งตามช่วงราคา


เมื่อเลือกโซนและบริการเสร็จ ก็กด Continue เพื่อไปหน้าต่อไป ที่จะเป็นการตั้งราคา


การตั้งราคา จะมีให้ใส่ค่า อยู่ 2 ช่อง ช่องบน จะเป็นการให้เลือก ว่าจะคิดราคา ตามน้ำหนัก (per weight)หรือ ตามจำนวนชิ้น (per Item)
ช่องล่าง per Shipment จะเป็นการคิดค่าส่งตายตัวต่อ 1 ออร์เดอร์
แต่ถ้าบริการไหน เราไม่ได้เลือกไว้ ก็จะไม่สามารถตั้งค่าได้ โดยจะแสดงไว้เป็น ---



แถวที่เป็น ETA ย่อมาจาก Estimated Time of Arrival - ระยะเวลาที่ของจะมาถึง(ผู้รับ)โดยประมาณ

เรา สามารถเลือกได้ ว่าจะให้คิดค่าส่งแบบไหน (ตามชิ้น หรือ น้ำหนัก) ได้จาก  Pull Down menu โดยน้ำหนัก จะคิดเป็น ปอนด์ (2.2 ปอนด์ เป็น 1 กิโลกรัม)



เวลา ที่ระบบของ Amazon คิดค่าส่ง จะเป็นการรวมค่าส่ง อยู่ 2 ค่า คือ เอาค่าจาก Per Shipment เป็นฐาน แล้วไปรวมกับ per Item / per Weight

เช่น เราใช้ระบบ per Item โดยตั้ง per Item ไว้ที่ $1.00 และ per Shipment ไว้ที่ $4.00 แล้วลูกค้า มาสั่งของจากร้านเรา จำนวน 8 ชิ้น (นับรวมทั้งรายการทั้งหมด ทั้งที่ซ้ำ และไม่ซ้ำกัน)
ค่าส่งจะเป็น $4.00 + ( 8 ชิ้น x $1.00 ) = $12.00

ถ้าคิดตามน้ำหนัก ก็คูณด้วยน้ำหนัก แทนจำนวนชิ้น

การ ตั้งราคา แต่ละโซน จะตั้งให้ไม่เหมือนกันก็ได้ เช่นบางโซน จะใช้แบบ per Item แต่บางโซน ใช้เป็น per Weight  แต่ทางที่ดี เพื่อไม่ให้เจ้าของร้านงง ตั้งระบบเดียวกันให้หมดดีกว่า และไม่มีการ copy เราต้องใส่เองทั้งหมด ทุกโซน ทุกบริการ

ใส่ครบแล้ว ก็กด Continue ระบบ ก็จะสรุปให้เราดูอีกครั้ง ว่าที่เราตั้งไปทั้งหมด เป็นยังไง



ถ้าโอเค ก็กด Confirm เพื่อยืนยัน เป็นอันเสร็จสิ้นการตั้งค่าส่ง


ที่มา thaiseoboard.com