ทักทายกันหน่อย

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่เวบไซต์ Thai ebaY Articles ผมตั้งใจทำเวบนี้ขึ้นมาเพื่อรวมรวบสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับอีเบย์ให้อ่านง่ายขึ้นครับ ... ขอบคุณครับ

15 พฤศจิกายน 2555

Add a Product นำสินค้าเข้าร้านทีละชิ้น


การ Add สินค้าเข้าไปในร้านค้า - Listing Method



การเพิ่มสินค้าเข้าไปในร้านค้าเราใน Amazon นั้น สามารถทำได้ 3 วิธี
-   Add a Product  เป็นการเพิ่มสินค้า เข้าไปในร้านแบบ ทีละชิ้น
-   Inventory File หากเรามีสินค้ามาก การเพิ่มเข้าไปทีละชิ้นจะเป็นการเสียเวลาค่อนข้างมาก ทาง Amazon ก็มีตัว Template ที่อยู่ในรูป Excel ให้เราสามารถกรอกข้อมูลสินค้าใส่ แล้ว Upload สินค้าเข้าไปในร้านเราทีเดียวได้ทั้งหมด
-   Amazon Seller Desktop เหมือนกันการเอาข้อดีของ 2  อันแรกมารวมกัน (และข้อเสียก็มารวมกันด้วย) วิธีการนี้ เป็นการติดตั้งโปรแกรม ที่ทาง Amazon เป็นผู้ทำ เราสามารถกรอกข้อมูลสินค้าทีละชิ้น หรือ Import ข้อมูลที่อยู่ในรูป Excel  เข้าไปในโปรแกรมก่อนโดยยังไม่ต้อง ต่อเนต - ตอนนี้ ผมโหลดมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ลองใช้งาน เอาไว้ค่อยมารีวิว และโพสวิธีการใช้งานต่อไปภายหลังให้นะครับ แต่ผมคิดว่าคงคล้าย ๆ กัน Turbo Lister ของทาง eBay

วิธี Inventory File นั้นค่อนข้างง่าย และเพิ่มสินค้าได้ทีละมาก ๆ แต่ผมแนะนำให้ลอง Add a Product จนคล่องก่อน เพราะเราจะได้รู้ว่าสินค้าเรา ต้องใส่ข้อมูล ช่องไหน อะไรบ้าง  เวลาใส่ข้อมูลลงในตารางแล้วจะได้ไม่ผิด ไม่อย่างนั้นต้องมานั่งแก้ทีละอัน

วิธี Add Product 

ที่หน้า Seller Central เลือกเมนู INVENTORY แล้วเข้าไปที่ Add a product ตามรูป เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการนำสินค้าเข้าร้าน



  เริ่มเข้าสู่หน้า Add a Product



  กดปุ่ม Create a new product

  ส่วนของการ Classify หรือการเลือกหมวดที่สินค้าเราจะเข้าไปอยู่ เราสามารถเลือกหมวดสินค้าหลัก แล้วหมวดย่อย ได้จากการเลือก หมวดกลักก่อน แล้วหมวดย่อย ลงไปก็จะปรากฎ ที่ช่องขวามือ ก็เลือกหมวดย่อยต่อไปเรื่อย ๆ



  หรือถ้าไม่แน่ใจว่า สินค้าจะอยู่ในหมวดไหน และมีชื่อสินค้า เราก็ใส่ลงไปในช่อง Search for your product’s category แล้วก็กดปุ่ม ได้เลย เช่น หากเราต้องการขายอะไรสักอย่างเกี่ยวกับ ipad ก็ใส่เข้าไปใส่ช่อง แล้วกดลองค้นหาดู




หมวด สินค้า ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ก็จะออกมา แต่เนื่องจากคำว่า ipad มันกว้างเกินไปหน่อย ก็เลยมีให้เลือกหลายหมวด อยู่ที่ว่า เราจะขายอะไร เกี่ยวกับ ipad ว่าเป็นตัวเครื่อง หรืออุปกรณ์ประกอบ กระเป๋า ซอง ก็ให้คลิกที่ชื่อหมวด เพื่อเลือกหมวดสินค้านั้นได้เลย




  อีกวิธี Browse for your product’s category ก็คือการเลือกหมวดหลัก และหมวดย่อยลงไปเรื่อย ๆ อย่างเช่น iPad ถ้าเราจะขายตัวเครื่อง ก็ต้องเลือกไปที่ Computer >  Tablet Computer เลือกหมวดย่อยจนกว่า จะมีปุ่ม Select ปรากฎ ดังรูป



  สินค้าบางหมวดนั้น อาจจะมีหมวดย่อย ถึง  4 ชั้นเลยทีเดียว ทั้งนี้ อยู่ว่าหมวดสินค้าไหน จะแบ่งละเอียดยังไง ลองใช้  Google ช่วยแปลเอาล่ะกันนะครับ

  การเลือกหมวดสินค้าให้ถูกต้องมีความสำคัญก็คือ จะทำให้ลูกค้า คัดกรองสินค้า ได้ตรงกับความต้องการ เพราะลูกค้าส่วนจะใช้คำค้นกว้าง ๆ ก่อน จากนั้น ค่อยเลือกหมวดสินค้าเป็นการคัดกรองสินค้าลงไปเรื่อย ๆ หากเราเอาสินค้าไปไว้ในหมวดผิด ก็อาจจะถูกกรองออกไปในขั้นตอนนี้ได้ -- Amazon เขาบอกมาอย่างนี้ครับ

  เมื่อเลือกหมวดแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอน Identify หรือการใส่รายละเอียดสินค้า
(การ ใส่รายละเอียดสินค้าในแต่ละหมวด จะมีรายละเอียด และค่าที่บังคับให้ใส่นั้นแตกต่างกัน ให้ดูรายละเอียดของแต่ละหมวดเอาเองอีกทีนะครับ )


ในส่วนของการใส่รายละเอียดสินค้า จะแบ่งการใส่ข้อมูลต่าง ๆ ออกเป็นแถบย่อย ๆ ดังนี้นะครับ

แถบ Vital Info




   ตัวอย่างหน้านี้ เป็นสินค้าในหมวด Sporting Goods > Sports Related Merchandise > Sports Fan T Shirts  จะมีบังคับอยู่ 3  รายการก็คือ
-   Product Name  ก็คือ ชื่อสินค้านั่นเอง  จะปรากฎเป็นตัวหนาในหน้า รายการผลการค้นหา และใช้เป็นคำ Keyword หลักในการค้นหาด้วย
-   Manufacturer ผู้ผลิต หรือเจ้าของ
-   UPC or EAN รหัสประจำสินค้า หรือตัวเลขประจำ Bar Code วิธีหา ดูได้จากหน้านี้ครับ https://sellercentral.amazon.c...h?ie=UTF8&itemID=200211450

รายละเอียดช่องอื่น ที่ไม่มี ตัวดอกจันดีแดงอยู่ข้างหน้า แสดงว่าไม่บังคับ ไม่ใส่ก็ได้


แถบ Offer

   ข้อมูลในแถบนี้ จะเป็นราคา และปริมาณสินค้าของเราน่ะครับ



   Condition - สภาพของสินค้า ส่วนใหญ่ ก็ต้องเป็น New นี่แหละ
   Your Price  - ก็คือ ราคาที่เราจะขาย
   Quantity ก็คือ - ปริมาณ หรือจำนวนที่เรามี หรือเราจะขาย

   ส่วนข้อมูลที่ไม่บังคับ แต่ก็ควรใส่เอาไว้ก็คือ 
    Seller SKU -  รหัสสินค้า อันนี้เราสร้างรหัสเอง เอาไว้ให้เราจำหรือแยกสินค้าได้เอง ไม่ต้องใช้ค่ามาตรฐานใด ๆ หรืออาจจะใช้รหัสสินค้าของร้านที่เราไปซื้อมาขายก็ได้ เวลาไปซื้อมาจากร้าน จะได้เลือกได้ถูก
    Handling time - ระยะเวลาในการจัดเตรียมสินค้าก่อนส่ง ช่วยให้เรามีเวลาในการเตรียมสินค้า หรือบอกลูกค้าให้รู้ไว้

แถบ Images




กดที่ปุ่ม    หน้าต่างใหม่ จะ Pop-up ขึ้นมา



เลือก   เพื่อเลือกรูปที่จะ  Upload ได้มากที่สุด 9 รูป เมื่อครบที่ต้องการ ก็กดปุ่ม แล้วระบบ จะทำการ Upload รูปหลังที่เราใส่ค่าทั้งหมดแล้วสามารถ ใส่ข้อมูลหน้าถัดไปได้ โดยไม่ต้องปิดหน้าโหลดรูปนี้

  เรื่องรูปสินค้า Amazon มักจะมีข้อบังคับให้ใช้รูปสินค้าดังนี้
     1.   พื้นหลังเป็นสีขาวเท่านั้น
     2.   รูปสินค้าจะต้องกินพื้นมากกว่า 85% ของเนื้อที่ทั้งหมดของรูป
     3.   ห้ามนำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในรูปเด็ดขาด
     4.   ห้ามใส่ลายน้ำ ตัวอักษร หรืออะไรเข้าไปทั้งสิ้น
     5.   รูปต้องมีขนาดด้านใดด้านหนี่งมากกว่า 500px
อันนี้เป็นข้อกำหนดทั่วไป นะครับ แต่อาจจะมีบางหมวดที่เข้มงวดกว่านั้น

แถบ Description




   ข้อมูล หน้านี้ ก็ไม่บังคับ ว่าจะต้องใส่ แต่เป็นหน้าที่สำคัญ เพราะมันดันไปแสดงอยู่ในส่วนที่สำคัญ ต่อการตัดสินใจซื้อ ก็เลยเป็นการบังคับว่า ต้องมี

   ส่วนแรก Key Product Feature อันนี้ ที่สำคัญ เพราะมันไปอยู่ตรงตำแหน่งนี้ครับ



     ลูกค้า จะเห็นรายละเอียดสำคัญของสินค้าตรงนี้ และช่วยตัดสินใจ ว่าสินค้านี้สมควรที่จะซื้อหรือไม่
ข้อกำหนดในการใส่ Key Product Feature
1.ใส่ได้ทั้งหมด 5 ข้อ แต่เขาข้อมูลที่สำคัญที่สุดไว้อันแรก
   2. แต่ละข้อใส่ได้ไม่เกิน 200 ตัวอักษร แต่ก็ไม่ควรเกิน 80 จะดีกว่า
   3. ห้ามใส่เบอร์โทรศัพท์ โปรโมชั่นต่าง ๆ  อีเมลล์ หรือเวปไซต์ภายนอก
   ส่วน Description นั้นจะอยู่ด้านล่างลงไปหน่อย ต้องเลื่อนหน้าจอลงไปจึงจะเห็น อยู่ในหัวข้อ
Product Description สามารถใส่ได้ไม่เกิน 2000 ตัวอักษร ไม่สามารถกำหนดรูปแบบ สี การแสดงผลใด ๆ ได้เลย จะเป็นตัวอักษรติดกันไปตลอด
   ของตัวอย่างนี่ ก็เลยใส่ สั้น ๆ ง่าย ๆ ไปเลย




แถบ Keyword

   แถบนี้จะเป็นการกำหนด Keyword ที่ใช้กับระบบ Search ของ Amazon เพิ่มเติมจาก ตัว Keyword ที่ใช้ใน Product Name 
   สามารถใช้ Keyword มาใส่ลงใน ช่อง Search Terms ได้ทั้งหมด 5  ประโยค



ข้อ แนะนำของ Amazon ในการใส่ Keyword ก็คือใช้ คำที่ไม่ซ้ำกับ Product Name เพราะคำเหล่านี้ จะถูกใช้อยู่แล้ว ให้ใช้คำอื่น ๆ ที่คิดว่า ลูกค้าจะใช้
    ส่วน Platinum Keyword นั่นสำหรับผู้ขายระดับ Platinum เท่านั้น


แถบ More Detail 
   แถบ นี้ สำหรับเป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า แต่ละหมวด ก็จะแตกต่างกันมาก เช่น หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะกล่าวถึงรายละเอียดทางเทคนิคต่าง ๆ แบตเตอรี่ที่ใช้รุ่นอะไร เสื้อผ้าก็เป็น ขนาดตามส่วนต่าง ๆ เช่น เอว คอ หรือว่าไซส์ต่างๆ มีขนาดเท่าไหร่บ้าง ไม่ขอพูดถึงครับ เพราะข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสินค้าส่วนใหญ่ ก็ใส่อยู่ในแถบอื่น เว้นแต่ว่าขยันก็ใส่กันได้เต็มที่เลยครับ


พอใส่ข้อมูลครบ ก็กด  Save and Finish ด้านล่าง ก็อันเสร็จสิ้น


  เนื่องจากทาง Amazon เป็นตลาดเสรี และเน้นด้านการแข่งขันของผู้ขายอยู่แล้วด้วย หากเรามีสินค้า ที่มีผู้ขาย ได้ขายสินค้านั้นอยู่แล้ว เราสามารถใส่รหัสสินค้านั้น หรือชื่อสินค้า ลงไปได้ ตั้งแต่หน้าแรกในช่อง Find it on Amazon ได้ทันที



   เช่น ถ้าเราใส่ Nike Shoe ลงไป แล้วก็กดปุ่ม Search



   รายการสินค้าที่มีขายอยู่ ก็จะแสดงออกมา หากสินค้าไหนที่ไม่อยู่ในหมวดที่ต้อง ได้รับการอนุมัติก่อน ก็จะมีปุ่ม อยู่ด้านหลัง ก็สามารถ กดที่ปุ่มนี้ได้เลย แต่ถ้ายังไม่ได้รับการอนุมัติ ก็จะแสดงไว้ว่า Sorry, the ability to create a listing for this item is restricted



   เมื่อเจอสินค้าที่เหมือนกับของที่เราจะขาย ก็กดปุ่ม Sell yours ได้ทันที แต่มีข้อแม้ว่า ต้องเหมือนเปี๋ยบเท่านั้น จะเป็นการลัดเข้าสู่หน้า Offer ทันที โดยที่หน้าอื่น เราไม่สามารถใส่รายละเอียดใด ๆ ได้เลย เพราะว่า เราจะขายสินค้าเดียวกัน




   หน้าอื่นก็ไม่สามารถใส่ข้อมูลได้



   นั่นก็คือ เราจะตัดราคากับเขา ว่างั้นเหอะ เพราะว่า เวลาลูกค้าหาสินค้าเจอ ระบบของ Amazon จะแสดงให้เห็นว่า มีผู้ขายกี่คนที่ขายอยู่ และจะเปรียบเทียบราคาให้เห็นกันจะจะแบบนี้




นั่นคือ ถ้ามั่นใจว่าขายถูกกว่า แล้วจะได้กำไร ใช้วิธีนี้ได้เลย
และผมก็คิดว่านี่แหละหนึ่งในเหตุผลที่ไม่ยอมให้ใส่ลายน้ำเจ้าของ เข้าไปในรูป

ที่มา thaiseoboard.com