สำหรับสินค้าบางชนิดที่มีหลายขนาดให้เลือก
เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดที่จะนำไปใช้งาน เช่นเสื้อผ้า รองเท้า แหวน ระบบ Add
a Product ได้รองรับการสร้างทางเลือกต่าง ๆ ไว้ให้สำหรับลูกค้า
เพื่อให้ผู้ขาย ได้สร้างทางเลือกต่าง ๆ ไว้ให้ลูกค้าได้เลือกกัน
ระบบนี้ก็คือ Variation Theme
สำหรับ Variation Theme จะอยู่ที่แถบ Vital Info
Variation ของแต่ละหมวดสินค้า จะมีให้เลือกไม่เหมือนกัน
ตามแต่ลักษณะของสินค้านั้น ๆ อย่างในตัวอย่างที่แสดงให้นี้
เป็นของหมวดเสื้อผ้า
โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เสื้อผ้า คนที่จะเลือก สี กับ ไซส์ (color / size)
ส่วนตัวเลือกอื่น ๆ นั้น ทางระบบได้เตรียมไว้สำหรับ เสื้อผ้าพิเศษ
หรือความเป็นไปได้ทั้งหมด แต่คงไม่ได้ใช้ทั้งหมด
ถ้าเรา จะนำเสนอ สีเดียว แต่มีให้เลือกได้หลายขนาด ตั้งแต่ S, M, L, XL และ XXL ก็เลือก ออปชั้น Size
หรือถ้าเรามีหลายสี แต่เป็นฟรีไซส์ก็เลือก ออปชั่น Size
แต่ตัวอย่างนี้ จะแสดงแบบยากกว่า ก็คือ มีให้เลือก 4 สี 4 ไซส์ ก็คือ Color, Size ( อันล่างสุดในรูป )
เมื่อเลือกแล้ว จะมีแถบใหม่ปรากฎมา ก็คือ Variations และจะมีช่องให้ใส่ข้อมูล ตามที่เราได้เลือกไป
ก็ลองใส่ ขนาดไป 4 ขนาด S, M, L, XL และ สีไป 4 สี คือ Black, Red, White, Blue
เมื่อครบ ก็กดปุ่ม Add Variations ด้านล่าง
เราก็ต้องใส่ ราคา และ ปริมาณสินค้า ตามแต่ละ Variation ที่เรามี
ในที่นี้ ก็จะมีทั้งหมด 16 Variation เพราะว่า มี 4 สี แต่ละสี
ก็จะมีทั้งหมด 4 ขนาด
ช่องที่บังคับใส่ ก็คือ Condition , Your Price และ Quantity ส่วน
ช่อง Seller SKU นั้นไม่บังคับ เพราะถ้าเราไม่ใส่ ระบบของ Amazon
จะสร้างให้อัตโนมัน แต่ถ้าต้องการให้เราเองดูรู้เรื่อง เราก็ควรสร้างเอง
เช่น ถ้าเป็นสีฟ้า ขนาด XL ก็อาจจะใช้ว่า BL-XL ก็คือ Blue ต่อด้วย ไซส์
XL จะดูรู้เรื่องกว่าที่ระบบสร้างให้เยอะ
ส่วนราคา กับปริมาณ
จะตั้งเท่ากันทุกไซส์ ทุกสี หรือไม่เท่ากันเลยสักอันก็ได้ ตามสะดวก ถ้าไซส์
หรือสีไหน ไม่มีของ ก็ตั้งปริมาณให้เป็น 0 - ศูนย์
เมื่อครบแล้ว ก็ใส่ข้อมูลในแถบอื่น แต่ยังไม่ต้องใส่รูป
เพราะเราสามารถใส่รูปในแต่ละ Variation ให้แตกต่างกันได้
ให้ข้ามขั้นตอนในการใส่รูปไปก่อน
เมื่อเสร็จแล้ว หน้าสรุป Inventory ของเราก็จะปรากฎสินค้ารายการนี้
แต่สินค้าที่สร้างขี้นพร้อมกับ Variation นี้จะมีเครื่องหมาย + อยู่ด้านหน้าสุด
เมื่อคลิกที่เครื่องหมาย + ก็จะเป็นการแสดง Variation ทั้งหมดออกมา
โดยที่ ตัวข้อมูลหลัก ๆ ของสินค้า จะเรียกว่า Variation Parent และ ตัว Variation ย่อยทุกอัน จะเรียก Child
Seller
SKU ของ Parent นั้น ระบบ Amazon จะสร้างให้อัตโนมัน (FG-6ZF6-ZSQ7)
แต่ตัวของตัว Child เราสามารถสร้างได้เห็น จะเห็นได้ว่า ของ Child
ถ้าเรากำหนดเอง ดูเองง่ายกว่าเป็นไหน ๆ
และก็สามารถ ใส่รูปให้แต่ละ Child ได้โดยคลิกที่ Actions เมนูก็จะปรากฎ
เลือก Edit details แล้วก็เข้าไปใส่รูปที่ แถบ Images
ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว เราสามารถใส่รูปหลักไว้ที่ Parent และรูปแต่ละสี
ไว้ที่ Child แต่ละอัน เมื่อลูกค้าเลือก ไปที่ ออปชั่นต่าง ๆ
รูปก็จะเปลี่ยนไปตามที่เราได้กำหนดไว้
หน้าแสดงสินค้า ก็จะมี ออปชั่นให้เลือก (พอดีตัวอย่าง มันมีแต่ให้เลือกขนาด ไม่มีให้เลือกสีนะครับ)
ความยากของการตั้ง Variation Theme นี่น่าจะอยู่ที่การตัดสินใจเลือก
ว่าจะเอาอะไร เป็น Variation มากกว่า อย่างเช่นเสื้อผ้านี้ ถึงแม้สี
จะสามารถตั้งเป็น Variation ได้ แต่ก็ไม่ใช่เสื้อทุกชนิด เหมาะที่จะเอามาทำ
เพราะตามลักษณะของคนซื้อ จะเลือกสีก่อน จากนั้นค่อยมาดูว่ามีไซส์
ที่ใส่ได้หรือเปล่า ก็คือ ลูกค้าจะใช้สี เป็นคำค้น ถ้าเราเอามาตั้งเป็น
Child แล้วโอกาส ที่จะใช้ สี มาเป็น Keyword ที่จะเอาไปใช้เป็น Product
name ก็หมดไป เพราะ Variation Child ทุกอัน จะชื่อเหมือนกัน Parent หมด
แต่ถ้าเป็นเสื้อทีมแมนยู คนก็จะไม่ค้นหาที่สี
เพราะคงโดนบังคับสีมาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่จะเป็น Variation ว่าจะเป็น Home
หรือ Away (เสื้อทีมเหย้า หรือทีมเยือน) และก็ขนาดมากกว่า
การตั้ง Variation ยังไง ก็ลองดูชนิดสินค้า และก็ พฤติกรรมของลูกค้าด้วยนะครับ
ที่มา thaiseoboard.com
หมวดหมู่ของบทความ
การโดนลิมิต
(16)
การถ่ายรูปสินค้า
(5)
การลิสต์สินค้า
(12)
การส่งสินค้า
(23)
เกี่ยวกับร้านค้า store
(3)
เกี่ยวกับลูกค้า
(14)
ค่าธรรมเนียม
(7)
ซื้อของอีเบย์
(11)
ทั่วไปเกี่ยวกับอีเบย์
(29)
ทำความรู้จักกับอีเบย์
(12)
ประกาศจากอีเบย์
(9)
ปัญหาทั่วไป
(10)
เผยเทคนิคอีเบย์
(23)
เพพาล PayPal
(13)
มือใหม่
(13)
แม่แบบจดหมาย
(23)
เริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ
(15)
สมัครเป็นคนขาย
(1)
ไอเดียขายสินค้า
(16)
amazon
(15)
etsy
(5)
feedback และ DSR
(14)
MC code แบบต่างๆ
(4)