ทักทายกันหน่อย

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่เวบไซต์ Thai ebaY Articles ผมตั้งใจทำเวบนี้ขึ้นมาเพื่อรวมรวบสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับอีเบย์ให้อ่านง่ายขึ้นครับ ... ขอบคุณครับ

12 สิงหาคม 2554

เปิดบัญชีธนาคารในอเมริกา โอนเงินเข้าธนาคารกรุงเทพที่เมืองไทย ทาง Internet ได้ง๊ายง่าย

สะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าธรรมเนียม ประหยัดเวลาครับ ทุกเดือนผมก็ใช้บริการอยู่ครับ

ข้อมูลด้านล่างนี้ นำมาจากเว็บไซต์ bangkokbank.com นะครับ

ประหยัด ค่าธรรมเนียมการโอนเงินจากสหรัฐอเมริกากลับประเทศไทยได้ด้วยวิธีง่ายๆ ผ่านระบบ Automated Clearing House (US ACH) ของสหรัฐอเมริกา

US ACH คือ ระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสถาบันการเงินกว่า 12,000 แห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา


Routing Number หรือ Routing Transit Number (RTN) คือตัวเลขรหัสธนาคารหรือสถาบันการเงิน 9 หลัก กำหนดโดย American Bankers’ Association
ใช้สำหรับระบุการส่งคำสั่งโอนเงินจากธนาคารผู้ส่งไปยังธนาคารผู้รับผ่านระบบ US ACH ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา

Routing Number ของธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ก 9 หลัก คือ 0 2 6 0 0 8 6 9 1


ธนาคาร กรุงเทพมีสาขาใน นิวยอร์ค จึงมี Routing Number พูดง่าย ๆ ก็คือ เราโอนเงินออกจากแบงค์ US ไปแบงค์กรุงเทพในสาขานิวยอร์ค เหมือนๆ กับเราโอนเงินไปแบงค์อื่นๆ ใน US

ส่วนแบงค์กรุงเทพสาขานิวยอร์คก็จะ โอนเข้าแบงค์กรุงเทพของตัวเองไปเข้าบัญชีของเราในประเทศไทยให้ครับ

บาง คนที่เคยโอนเงินต่างประเทศก็จะคุ้นกับ ระบบ SWIFT ซึ่งเป็นการโอนเงินข้ามประเทศโดยตรงครับ มันเป็นคนละระบบกันน่ะครับ แบบ Swift ค่าธรรมเนียมจะแพงกว่าเพราะโอนข้ามออกต่างประเทศโดยตรง

ต่าง กับ Routing Number เป็นการโอนเงินภายในประเทศ US แบงค์ไทยอื่น ๆ กรุงไทย กสิกร ทหารไทย ไทยพาณิชย์ ไม่มีสาขาในอเมริกาจึงจะใช้ระบบ Routing Number ไม่ได้ ใช้แต่ SWIFT CODE อย่างเดียว

ธนาคารกรุงเทพคิดค่าธรรมเนียมดังนี้

1.เมื่อ ผู้ส่งเงินทำรายการโอนผ่านระบบ US ACH ผ่าน Routing Number ธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ค มีสาขาเดียวใน US ทุกรัฐใน US ใช้วิธีโอนแบบนี้ไปที่สาขานิวยอร์คได้หมด
จะคิดค่าธรรมเนียม ดังนี้

ยอดเงินโอนจากประเทศสหรัฐอเมริกา

50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่คิดค่าธรรมเนียม

51 - 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ

100.01 - 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ

2,000.01 - 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ

50,000.01 ดอลลาร์สหรัฐฯขึ้นไป 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ตรงส่วนค่าธรรมเนียมนี้ ตอนเราใส่ยอดเงินที่จะโอน ก็ต้องคำนวณเผื่อ + ค่าธรรมเนียมเข้าไปด้วย เพราะจะถูกหักออกจากยอดเงินโอนรวมครับ

2. เมื่อเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพของผู้รับเงินในประเทศไทย ธนาคารคิดค่าธรรมเนียม 0.25% ของมูลค่าเงินบาท (ขั้นต่ำ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 500 บาท)

ข้อมูลค่าธรรมเนียมโอนต่างประเทศผ่านระบบ US ACH :
http://www.bangkokbank.com/Bangkok%20Bank%20Thai/Personal%20Banking/Transfering%20Funds/Transferring%20into%20Thailand/Receiving%20Funds%20from%20USA/Pages/Receiving%20Funds%20form%20USA%20Fee.aspx



ข้อมูลจากธนาคารกรุงเทพ วิธีการโอนเงินทาง internet banking
ผ่านทางแบงค์อเมริกาเพื่อโอนเงินภายในประเทศเข้าแบงค์กรุงเทพ สาขานิวยอร์ค :
http://www.bangkokbank.com/Bangkok%20Bank%20Thai/Personal%20Banking/Transfering%20Funds/Transferring%20into%20Thailand/Receiving%20Funds%20from%20USA/Pages/Advice_Internet_Banking.aspx

ข้อมูลทั้งหมดจากธนาคารกรุงเทพ :
http://www.bangkokbank.com/Bangkok%20Bank%20Thai/Personal%20Banking/Transfering%20Funds/Transferring%20into%20Thailand/Receiving%20Funds%20from%20USA/Pages/Receiving%20Funds%20from%20USA.aspx



ผม ขอยกตัวอย่าง Bank Of America ที่ผมใช้งานอยู่ จะใช้วิธีตรวจสอบเจ้าของบัญชี US โดยกรอกยืนยัน เลขที่บัตรเดบิต หรือเครดิตการ์ด เดือนปีหมดอายุ รหัส 3 ตัวหลังบัตร

บางแบงค์ของ U.S จะไม่สามารถโอนได้เลยทันทีถ้าใช้บริการครั้งแรกนะครับ เพราะ บางแบงค์ก็อาจจะตรวจสอบว่า บัญชีปลายทางที่ไทยนั้น ชัวร์หรือไม่ มีตัวตน มีบัญชีแน่นอนหรือป่าว

โดยระบบแบงค์จะทำการสุ่มยอดเงิน โอนเข้าบัญชีกรุงเทพในไทย ยอดเงินเล็กน้อยเช่น 1.05 ดอลลาร์ แต่ยอดนี้เราเองจะไม่ทราบ ต้องให้บัญชีกรุงเทพที่ไทยเช็คดูว่ายอดเข้ากี่ดอล
เช่น เราโอนเข้าบัญชีพ่อ ก็ให้พ่อเช็คทางแบงค์ว่ายอดมีเข้ามากี่ดอล แล้วเอายอดนั้นมา confirm ในระบบของ Internet banking แบงค์ U.S ของบัญชีเรา เมื่อระบบตรวจสอบถูกต้อง
ก็จะอนุญาติให้โอนได้ ครั้งต่อไปก็โอนได้ทันที ได้ตลอดไปครับ มันจะตรวจสอบคอนเฟิมว่าบัญชีปลายทางถูกต้องแน่นอนแค่ครั้งแรกครั้งเดียว

แต่ ตอนเพิ่มบัญชีแบงค์กรุงเทพที่ไทย ต้องเลือกแบบ Routing Number และโอนแบบ Domestic ภายในประเทศนะครับ อย่าไปเลือกผิดเป็น Swift เพราะค่าธรรมเนียมแบบ International ข้ามประเทศจะแพงกว่าแบบโอนภายในประเทศ US

เอารูปตัวอย่างหน้าจอมาให้ดูครับ จะได้เข้าใจง่าย ๆ ซึ่งแบงค์อื่นใน US ก็จะคล้าย ๆ กัน ประมาณนี้น่ะครับ

เริ่มแรกก็เข้าไปเมนู transfer



เลือกแบบ โอนภายในประเทศ Domestic U.S และเลือกประเภทบัญชี แบบบุคคล หรือ business





เลือกประเภทบัญชี ออมทรัพย์ และก็ใส่เลขบัญชีธนาคารกรุงเทพของไทย 10 หลัก





ตรงที่อยู่นี้ให้ใส่เป็นที่อยู่ของ bangkok bank สาขา New york ครับ เพราะแบงค์กรุงเทพจะทราบเองว่าเค้าจะโอนต่อไปให้เราที่ไทย
สำคัญตรงชื่อ และนามสกุลต้องให้ถูกต้องและประเภทบัญชี ต้องให้ถูกต้องครับ

Bangkok Bank Public Company Limited New York Branch
29 Broadway, 19th Floor, New York
NY 10006
เวลาทำการ: วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-17.00 น.
โทร: (1-212) 422-8200
แฟ็กซ์: (1-212) 422-0728

ธนาคากรุงเทพ สาขานิวยอร์ค มีสาขาเดียวใน US ทุกรัฐใน US ใช้วิธีโอนแบบนี้ไปที่สาขานิวยอร์คได้หมดครับ


Link: http://www.bangkokbank.com/Bangkok%20Bank%20Thai/About%20Bangkok%20Bank/About%20Us/International%20Branches/Pages/Branch%20in%20USA.aspx





ใส่เลขที่บัตรเดบิตเพื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของบัญชี





เรียบร้อยแล้ว ก็โอนเงินได้ทันทีเลยครับ



ยกตัวอย่าง เช่นของผม ใช้ bank of america

1. ผมฝากเงินเข้าบัญชี bank of america ของผมเอง 1,000 usd
2. ผมก็ login เข้า internet banking bank of america
3. เข้าเมนู transfer โอนเงินภายในประเทศ domestic outside the bank ก็หมายถึงโอนเงินต่างธนาคาร ภายในประเทศ US ตรงนี้จะมีค่าธรรมเนียมการโอนเงินต่างธนาคารภายใน US
เพราะไม่ใช่ใน bank of america เหมือนกัน ซึ่งค่าธรรมเนียมตรงนี้ แต่ละแบงค์จะต่างกันไป อย่าง bank of america จะมีให้เลือก

ระบบ จะโอนให้ใน 3 วันทำการ เสียค่าธรรมเนียม 3 ดอล และ โอนให้รุ่งขึ้น เสียค่าธรรมเนียม 10 ดอล พอทาง bangkok bank นิวยอร์คได้รับเงินโอนแล้ว ก็จะหักค่าธรรมเนียมตามเรท ที่ผมบอกไว้ครับ
เพราะฉะนั้นต้องคำนวณ + เผื่อโดนหักค่าธรรมเนียมทั้งหมดไว้ด้วยนะครับ

4. ทำการโอนตามรูปที่ผมแนะนำไปครับ โอนเข้าบัญชีแบงค์กรุงเทพที่เราเพิ่มไว้ตั้งแต่แรก ทีเหลือทาง bankgok bank นิวยอร์คจะดำเนินการโอนต่อเข้าบัญชีที่ไทยให้เราเอง

ผมเลือกแบบ 3 วันทำการโอนไป bangkok bank สาขานิวยอร์ก + 3 วันทำการ bangkok bank โอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพที่ไทย รวมเป็น 6 วันทำการ

โอนน้อย ๆ ไม่คุ้ม เพราะเราต้องเสียค่าธรรมเนียมภายในแบงค์เราก่อน เพราะโอนข้ามแบงค์ไปภายใน US ก็ต้องคำนวณดูว่า โอนแบบอื่น ค่าธรรเนียมใกล้เคียงกันหรือแพงกว่าเท่าไหร่ แต่วิธีนี้มันสะดวกตรงแค่เอาเงินเข้าบัญชีแบงค์ US เราแค่นั้นเองครับ ไม่ต้องไปกรอกฟอร์มให้วุ่นวาย ที่เหลือก็โอนออนไลน์ คลิกโอนก็เสร็จแล้ว เหมาะสำหรับคนที่โอนเงินแบบไม่เร่งด่วน โอนประจำทุกเดือน

ถ้าแบบด่วน ๆ ก็คงต้องใช้ money gram หรือ western union ละครับ


เงิน เข้าแบงค์กรุงเทพบัญชีเราที่ไทยก็ให้ใครไปกดก็ได้ หรือ จะเข้าบัญชีกรุงเทพชื่อพ่อ แม่ พี่น้อง ญาติได้หมดครับ แล้วก็ให้ทางไทยเค้าไปขอเปิด internet banking ของแบงค์กรุงเทพด้วยเพราะ จะเช็คเงินเข้าออนไลน์ได้

รู้ยอดและรู้ว่าได้รับเงินแล้วถูกหักกี่ บาท เด้วนี้แบงค์มีบริการ Internet banking แล้วทุกแบงค์ โอนข้ามไปข้ามมาออนไลน์ได้เลยทางเน็ตไม่ต้องไปสาขา หรือเอทีเอ็มโอนเงินให้เมื่อยแล้ว

แต่หากเราจะโอนจากแบงค์ U.S ไปแบงค์กรุงไทย กสิกร หรือไทยพาณิชย์ อื่น ๆ ที่ไม่ใช่แบงค์กรุงเทพ จะใช้วิธีแบบที่แนะนำไม่ได้ครับ ถ้าใช้ Routing Number จะโอนภายในประเทศ US ผ่านไปแบงค์กรุงเทพได้แบงค์เดียวเพราะ แบงค์กรุงเทพเค้ามีสาขาใน US และเค้าก็ไม่โอนข้ามไปแบงค์อื่น ๆให้ครับ บริการนี้เค้าบริการเฉพาะแบงค์กรุงเทพของเค้าเองไม่เกี่ยวกับแบงค์อื่นๆ

แนะ นำว่า ถ้าไม่มีบัญชีแบงค์กรุงเทพที่ไทย ให้ใครซักคนที่ไทยเปิดบัญชีกรุงเทพและเปิด Internet banking ไว้ซักบัญชีนึง หรือจะเป็นบัญชีตัวเองก็ได้ แล้วก็ใช้ Internet banking ของแบงค์กรุงเทพที่ไทย โอนต่อข้ามไปให้ใครก็ได้เข้าบัญชี กรุงไทย กสิกร ไทยพาณิชย์ ทหารไทย ได้หมดครับ ค่าธรรมเนียมโอนข้ามแบงค์ในไทยไม่แพงโอนได้สูงสุดต่อครั้ง 5 หมื่นบาท เสียค่าธรรมเนียม 35 บาท

ระบบแบงค์ U.S อื่น ๆก็คล้าย ๆประมาณนี้ครับ สะดวกรวดเร็วโอนง่าย ไม่ต้องไปสาขาให้ยุ่งยากกรอกฟอร์ม แค่เอาเงินเข้าไว้ในบัญชี แบงค์ U.S ของเราเองหรือของคุณแฟน แล้วก็คลิก ๆ ๆโอนเสร็จเรียบร้อย ง๊าย ง่าย จริง ๆ

ที่มา little blog